วันอาทิตย์ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2557

ความหมายของสังคม
      คำว่า "สังคม" นั้นได้มีผู้ให้นิยามไว้ต่าง ๆ มากมาย แต่พอสรุปความหมายได้ดังนี้
      สังคมหมายถึง กลุ่มคนมากกว่าสองคนขึ้นไป ดำรงชีวิตอยู่ร่วมกันเป็นเวลายาวนานในขอบเขตหรือ พื้นที่
กำหนด ณ ที่ใดที่หนึ่ง มีการติดต่อสัมพันธ์กัน ประกอบไปด้วยสมาชิกเป็นคนทุกเพศทุกวัย ปฎิบัติตนต่อผู้อื่น
ภายใต้กฎเกณฑ์หรือระเบียบเดียวกัน โดยมีวัฒนธรรม ระเบียบแบบแผนในการดำเนินชีวิต เป็นของตนเอง
ปฎิบัติหน้าที่และแสดงบทบาทเพื่อสังคมดำรงความเป็นปึกแผ่น มั่นคงถาวร และเจริญก้าวหน้า

      ความสำคัญของสังคม
     มนุษย์จำเป็นต้องอยู่กันเป็นกลุ่ม มีการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน การเป็นมนุษย์ที่สมบรูณ์นั้นมิได้มีมาแต่
กำเนิด แต่เกิด จากการที่มนุษย์ได้เป็นสมาชิกของสังคม ทำให้มนุษย์เรียนรู้แบบแผนต่าง ๆ โดยเฉพาะัสังคม
มนุษย์คือ ครอบครัว ความรู้จากแบบแผนมนุษย์ รุ่นก่อนจากสภาพแวดล้อมครอบครัว
 จากสถาบันที่ตนได้สัมผัส
สิ่งเหล่านี้ ล้วนมีอิทธิพล และมีส่วนทำให้มนุษย์ที่สมบรูณ์สามารถยังชีพอยู่สังคมได้อย่างมั่นคง


ครอบครัวสถาบันแรกของครอบครัว

      ความต้องการขั้นพื้นฐานของมนุษย์
      สาเหตุที่มนุษย์ต้องการร่วมกันในสังคม มีดังนี้
      1. เพื่อสนองความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ ธรรมชาติของมนุษย์นั้นต้องการหลายอย่าง แต่พื้นฐานจริงๆ
ก็คือปัจจัยสี่ ได่แ่ก่ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย และยารักษาโรค นอกจากวัตถุนั้นแล้วมนุษย์ต้องการ
ความรัก ความอบอุ่นความเข้าใจ ความปลอดภัย สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นสิ่งที่พึ่งพาอาศัยกันและกัน

ปัจจัยขั้นพื้นฐานของมนุษย์

      2. เพื่อเป็นที่ยอมรับของสังคม การเป็นที่ยอมรับทำให้มนุษย์เกิดความมั่นใจ ความภูมิใจ ความเข้าใจที่จะ
ทำกิจกรรม ให้กับสังคมทำให้เกิดความสุข แต่ถ้าไม่ยอมรับ ธรรมชาติของมนุษย์จะหลีกเลี่ยง จากสังคมนั้น
ทำให้เกิดทุกข์ ไม่ประสบความสำเร็จ ในชีวิตและไม่มีความสุขที่จะอยู่ในสังคมนั้นๆ
     3. เพื่อสร้างความเจริญก้าวหน้าให้กับตนเองและกลุ่ม มนุษย์จะรู้สึกว่ามีความปลอดภัยมีความเอื้ออาทรต่อกัน
เมื่อมีการทำกิจกรรมร่วมกันและเกิดความเต็มใจ ก็จะช่วยกันสร้างสรรค์ผลงานมื่อผลงานนั้นเกิดความสำเร็จ
จะกลายเป็นความภาคภูมิใจ สังคมก็จะเจริญกว้าหน้า
     หน้าที่ของสังคม 
     สังคมประกอบด้วยมนุษย์ทุกเพศทุกวัย มีความรับผิดชอบ อยู่ภายใต้กฎเกณฑ์เดียวกันดังนั้น หน้าที่ของคน
ในสังคมที่จะตามมามีดังนี้
    1. ผลิตสมาชิกใหม่ ธำรงไว้ซึ่งหน้าที่ทางชีวะ คือ การให้กำเนิดลุกหลานเพื่อทดแทนสมาชิกใหม่
 

เด็กในวันนี้ คือสมาชิกที่ดีของสังคมในวันข้างหน้าจากการเรียนรู้และการปฎิบัติดี

     2. อบรมสมาชิกใหม่ ให้สามารถเรียนรู้และปฎิบัติตามกฎระเบียบของสังคมดำรงอยู่และึความเจริญก้าวหน้า
ของสังคม
     3. รักษากฎระเบียบของสังคม ปกป้องคุ้มครองคนดี รักษากฎหมาย เพื่อความสงบสุขของสังคม
     4. ส่งเสริมเศษรฐกิจให้เจริญก้าวหน้า เช่น ผลิต จำหน่าย แจกจ่ายสิ้นค้าและบริการให้ขวัญ กำลังใจ
ร่วมกลุ่มช่วยกันทำ แบ่งงานตามความชำนาญ ก่อให้เกิดกำลังใจ ทำให้สังคมแข็งแรง เศษรฐกิจเข้มแข็ง
คนในสังคมกินดีอยู่ดีก็มีความสุข

 โครงสร้างของสังคม

      สังคมจะยั่งยืนเจริญก้าวหน้ายอมต้องมีการวางแผน มีนโยบายิ นั่นคือ ต้องมีโครงสร้างที่ดีและแข็งแรง
สังคม ก็จะเป็นสังคมที่มีระเบียบมั่นคง

       ความหมายของดครงสร้างสังคม (Social Struction) 
     โครงสร้างสังคม (Social Interaction) คือ ความสัมพันธ์ของกลุ่มบุคคลที่อยู่ร่วมกันในสังคม โดยมีองค์
ประกอบทาง สังคมที่ทำให้สังคมดำรงอยู่ได้ ดำเนินไปอย่างมีระเบียบ อาจออกมาในรูปของความร่วมมือ
ความขัดแย้ง การแข่งขัน อย่างไรก็ตาม ความสัมพันธ์ของกลุ่มคนนั้นจะมีเครื่องยึดเหนี่ยว ซึ่งเป็นบรรทัดฐาน
ให้คนมาอยู่ รวมกันเป็นสังคมอย่าง สันติสุขได้
     ลักษณะโครงสร้างทางสังคม
     โครงสร้างทางสังคม มีลักษณะ 4 ประการ คือ

      1. มีปฎิสัมพันธ์(Social Interaction) คือ ความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิก มีบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไป
ติดต่อ สัมพันธ์กัน อาจเป็นกลุ่มปฐมภูมิ ได้แก่ ครอบครัว เพื่อน หรือกลุ่มทุติยภูมิ ที่มีการติดต่อรวมกัน
โดยหน้าที่ การงาน เช่น การประชุมการสนทนากัน การคบหาสมาคมการขัดแย้ง หรือการทำกิจกรรมร่วมกัน

      2. มีกฎเกณฑ์ ข้อบังคับ
 หรือบรรทัดฐานทางสังคม 
หมายถึง ระเบียบแบบแผนข้อบังคับ เพื่อให้ทุกคน
ยึดถือ ปฎิบัติ ร่วมกันทำให้สังคมดำรงอยู่ ดำเนินไอย่างเป็นระเบียบ เช่น การปฎิบัติระหว่างบิดามารดากับบุตร
หรือ ระหว่างครูกับศิษย์เป็นต้น
      3. มีเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ที่แน่นนอน ซึ่งมีอยู่ 2 อย่าง ดังนี้
          - เป้าหมายเฉพาะตัว หรือเป้าหมายของสมาชิกแต่ละคน เช่น ต้องการความรักความสำเร็จความกว้าวหน้า
การมี ฐานะดี ครอบครัวอบอุ่น
         - เป้าหมายรวม เช่น ต้องการให้สังคมที่ตนอยู่มีชื่อเสียง มีคว่ามปลอดภัย สงบสุข มีความเจริญ
      4. มีลักษณะเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงได้ตามยุคสมัย สังคมเป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นจึงอาจเปลี่ยนแปลง
ได้มีการพัฒนา เพื่อให้โครงสร้างที่ดีกว่าเข้าทดแทนโครงสร้างที่ล้าสมัย ไม่ว่าจะเป็นความสัมพันธ์ บรรยากาศ
สภาพแวดล้อม จำนวนสมาชิก แม้ระเบียบกฎเกณฑ์บางอย่างเพื่อความเหมาะสม
       องค์ประกอบของโครงสร้่างทางสังคม
   
    โครงสร้างทางสังคมจะมั่นคงเพียงใดย่อมขึ้นอยู่กับองค์ประกอบของสังคมที่สำคัญ 2 ประการดังนี้
    
   1. การจัดการระเบียบสังคม
      
 2. สถาบันทางสังคม
       การจัดระเบียบสังคม (Socail Organization) 
       สมาชิกของสังคมมีความแตกต่างกัน ทั้งแนวความคิด และความต้องการ การจัดระเบียบสังคมจึงมีความ
จำเป็น เพื่อเป็น ระเบียบสงบสุข จึงต้องมีกระบวนการจัดระเบียบในบทบาทและหน้าที่ของบุคคล 2 ประการคือ
      1. บรรทัดฐานทางสังคม (Social Norms) หมายถึง แบบพฤติกรรมกฎเกณฑ์ หรือคตินิยมที่สังคม
กำหนดไว้เป็น มาตรฐานในการประพฤติปฎิบัติที่สังคมยอมรับว่าดีและถูกต้องได้แก่
           1.1 วิถีชาวบ้านหรือวิถีประชา (Folk Ways) หมายถึง แนวทางการปฎิบัติที่บุคคลปฎิบัติจนเกิด
ความเคยชิน ไม่มีกฎหมายบังคับ ถ้าไม่ปฎิบัติก็ไม่มีบทลงโทษ แต่อาจถูกตำหนิติเตียน เช่นการใส่ชุดดำไป
งานแต่งาน หรือการเสีย มารยาทในสังคมช่นไม่เข้าแถวในการซื้อตั๋วดูภาพยนต์ปิดเสียงโทรศัพท์ในการประชุม
สัมมนาหรือในห้องเรียนเป็นต้น

ผู้คนจำนวนมากแย่งกันขึ้นรถโดยสาร
         1.2 จารีตหรือกฎศีลธรรม (Mores) คือ ข้อห้ามในการกระทำบางอย่างของสังคมซึ่งมีเรื่องกฎ
ศีลธรรมเกี่ยวกับ ความดี ความชั่ว เข้ามาเกี่ยวข้องด้วยหากผู้ใดระเมิดจะได้รับการต่อต้านรุ่นแรงกว่า
วิถีชาวบ้าน เช่น ทอดทิ้ง ไม่เลี้ยงดูพ่อ-แม่ ยามแก่เฒ่า ไม่เลี้ยงดูบุตร เป็นต้น

ผู้สูงอายุเฝ้ารอลุกหลานมาหา

       1.3 กฎหมาย (Laws) หมายถึง กฎข้อบังคับความประพฤติของบุคคลในสังคมผู้ใดระเมิดไม่ปฎิบัติ
มีบทลงโทษ ตาม กฎหมาย ที่กำหนดไว้ เช่น การฆ่าคนตาย การทำร้ายร่างกาย หรือการทิ้งขยะใน
ที่สาธารณะเป็นต้น

เมื่อทำผิดกฎหมายจะได้รับโทษ
       2. สถานภาพและบทบาททางสังคม
           2.1 สถานภาพ หมายถึง ฐานะ หรือตำแหน่งที่ได้จากการเป็นสมาชิกของสังคมสถานภาพคือตัวกำหนด
บทบาท
มี 2 อย่างคือ
           - สถานภาพที่ติดตัวมาแต่กำเนิด(Aseribed Status) เช่นเพศ อายุ เชื้อชาติ บุตร ธิดา มารดา
สถานภาพที่สังคม กำหนด เช่น ปู่ ย่า ตา ยาย เป็นต้น

          - สถานภา่พที่ได้มาจากความสามารถ (Achieved Status) ได้แก่สติปัญญาของตนเอง จากการศึกษา
เล่าเรียน จาก การทำงาน เช่น กรรมกร แพทย์ วิศวกร ครู พยาบาล ทนายความ ตำรวจ เป็นต้น
          2.2 บทบาททางสังคม หมายถึง การกระทำที่แสดงตามสถานภาพเช่น

ครู อบรมสั่งสอนให้ความรู้แ่นักเรียน
ตำรวจรักษาความสงบ จับผู้กระทำผิด
แพทย์ ให้การรักษาผู้เจ็ยป่วย
พ่อแม่ เลี้ยงดู ให้การอบรมสั่งสอนบุตร
                                                       
      สถาบันทางสังคม (Institution) 
      หมายถึง แบบแผน พฤติกรรมที่เป็นมาตรฐานของสังคม ที่มีเพื่อแก้ปัญหาพื้นฐานของสังคม และมีหน้าที่ทำ
ให้สังคม คงสภาพอยู่ได้ สถาบันที่สำคัญ ประกอบด้วย   

1. สถาบันครอบครัว เป็นสถาบันพื้นฐานที่มีบทบาทต่อสังคมมากเพราะมีหน้าที่ในการ
อบรม สั่งสอนเลี้ยงดูสมาชิกใหม่ ให้เป็นคนดีมีคุณภาพของสังคม ซึ่งเกิดจากการสมรส
ของชายหญิง ที่ตกลงจะมีชีวิตคู่ร่วมกัน เมื่อให้กำเนิดบุตรหน้าที่ของบิดาและมารดา
จึงมีความสำคัญมาก
 2. สถาบันการศึกษา เป็นสถาบันที่สนองความต้องการของสังคมด้าน
การถ่ายทอดความรู้ทักษะวิชาการ และวิชาชีพเพื่อให้สมาชิกมีความรู้ ความสมารถ
วัฒนธรรม คุณธรรม
           3. สถาบันการเมืองการปกครอง เป็นแบบอย่างของการคิดการกระทำในเรื่องเกี่ยวกับการรักษา
ระเบียบ ความสงบ เรียบร้อยของสังคม พิทักษ์ความถูกต้อง รักษาอธิปไตยของชาติ

ทำเนียบรัฐบาล ที่ทำการของนายกรัฐมนตรี

       4. สถาบันเศรษฐกิจ ปฎิบัติหน้าที่เพื่อสนองความต้องการของสังคมในด้านการผลิต การกระจาย การแลก
เปลี่ยน สิ้นค้าและบริการแก่สมาชิกในสังคม

ตลาดหุ้นและการลงทุน

        5. สถาบันศาสนา ปฎิบัติหน้าที่ทางพิธีกรรม อบรมสั่งสอนหลักธรรม เพื่อสนองความต้องการของสังคม
ในเรื่องความเชื่อ ความศรัธาของมนุษย์ ช่วยควบคุมพฤติกรรมของบุคคลในสังคม ทั้งกาย วาจาใจ ให้อยู่
ในระเบียบ เพื่อให้เกิดสันติสุข

วัด
โบสถ์
มัสยิด
เทวสถาน
    
        6. สถาบันสื่อสารมวลชน สนองความต้องการของสังคมในเรื่องการติดต่อสื่อสาร ทำให้บุคคลในสังคม
ทันเหตุการณ์ ในโลกยุคปัจจุบัน ทันคน ไม่ตกข่าว
 

หนังสื่อพิมพ์ สถาบันสื่อมวลชนแขนงหนึ่ีง

        7. สถาบันนันทนาการ สนองความต้องการสมาชิกในสังคมในด้านการพักผ่อนหย่อนใจการออก
กำลังกาย การใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ ส่งเสริมสุขภาพกายและสุขภาพจิตใจให้มีความแข็งแรงสมบรูณ์
       หน้าที่ของสถาบันทางสังคม 
       1. เพิ่มจำนวนสมาชิกให้สังคม ชดเชยสมาชิกที่ขาดไป เลี้ยงดูให้มีสุขภาพพลานามัยสมบรูณ์
       2. ให้การศึกษา ความรู้ทางด้านวิชาการ มีความชำนาญด้านวิชาชีพ เพื่อการดำรงชีวิตให้สังคมอย่างสงบสุข
       3. สนับสนุนความเป็นระเบียบเีรียบร้อย และความมั่นคงของสังคมให้เจริญก้าวหน้า
       4. ผลิตสินค้าและบริการที่จำเป็นต่อการดำรงชีพ ให้ประชากรมีการกินดีอยู่ดี
       5. ส่งเสริมสุขภาพอนามัยของคนในสังคม ให้มีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่สมบรูณ์
       6. ให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการสื่อสาร สร้างความเข้าใจซึ่งกันและกัน
       7. มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการออกกำลังกาย การพักผ่อนหย่อนใจได้เหมาะสมกับวัยเป็นการใช้
้เวลาว่าง ให้เป็นประโยชน์ มีผลตต่อสุขภาพอนามัยที่ดี